วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบโปรแกรม Html





รายชื่อนักศึกษา





รายชื่อนักศึกษาระดับปวส.1 สทส.1

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีภาคเรียนที่1/2554
ลำดับชื่อ-สกุลชื่อเว็บไซต์บล๊อก
1นายพงศกร นามสุดใจhttp://piingpong48.blogspot.com/
2นายขันติ เข็มทองhttp://jojoget777.blogspot.com/
3นายทศพร ไทยประดิษฐ์http://bigbill235.blogspot.com/
4นายธันวา ไชยเดชhttp://jonaja.blogspot.com/
5นายอภิศักดิ์ กองศรีhttp://exromantic.blogspot.com/
6นายศุภชัย ภิยะแพทย์http://suppachai-artzii.blogspot.com/
7นายภานุพันธ์ ปราณีhttp://panupan32.blogspot.com/
8นายศราวุธ หมวกไหมhttp://toomtamdisny.blogspot.com/
9นายศิริศักดิ์ วิสัยhttp://sirisakwisai.blogspot.com/
10นางสาวมุกดา บัวบกhttp://mukda325.blogspot.com/

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1

aaaa

วิชาสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

aaaa

วิชาระบบฐานข้อมูล MS-ACCESS

แบบฝึกหัดที่ 1

ความหมายของฐานข้อมูล (Database)
ฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กั

ระบบฐานข้อมูล หมายถึง ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันรูปแบบเป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน
ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS)Database Management System
หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะ ข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล
เสมือนเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้กับฐานข้อมูล


สรุปหน่อยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูลและโปรแกรม Microsoft Access 2007

ระบบฐานข้อมูล (Database System)
คือ ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีรูปแบบการจัดเก็บที่เป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกันซึ่ง เป็นฐานข้อมูลขององค์กร ทำให้แต่ละหน่วยงานสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการปรับปรุงข้อมูล ก็สามารถทำได้โดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS)
ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS)
คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใดนอก จากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและการแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพ เสมือนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลให้สามารถติดต่อกันได้ ซึ่งรายละเอียดของประโยชน์ในการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลจะได้กล่าวถึงต่อไป
ประโยชน์ในการใช้ระบบฐานข้อมูล
1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2. ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล
3. ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล
4. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
5. มีความปลอดภัย
6. ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน
7. ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย
แต่ อย่างไรก็ตาม ในการใช้ฐานข้อมูลนั้น ถึงแม้ว่าการประมวลผลด้วยระบบจัดการฐานข้อมูลจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็จะมีข้อเสียอยู่บ้างดังต่อไปนี้
1. เสียค่าใช้จ่ายสูง
2. เกิดความสูญเสียข้อมูลได้
หลักการออกแบบฐานข้อมูล
ขั้นตอนในการออกแบบฐานข้อมูลนั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างระบบฐานข้อมูล ว่าต้องการใช้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด
2. กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างฐานข้อมูล ว่าต้องการใช้เพื่อทำอะไร และต้องการอะไรบ้าง
3. สอบถามความต้องการของผู้ใช้ว่าจะต้องป้อนข้อมูลใดบ้างเข้าสู่ระบบ และผลลัพธ์ที่ได้ออก มาจากระบบว่าต้องการอะไรบ้าง สิ่งใดเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น และสิ่งใดสามารถช่วยให้ระบบมีประสิทธิภาพการทำงานสูงยิ่งขึ้น
4. วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด
5. จัดกลุ่มข้อมูลที่ต้องการเก็บในระบบฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของตาราง (Table) โดย พิจารณาจากความสัมพันธ์ว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่
6. วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง เพื่อกำหนดเขตข้อมูลหรือฟิลด์ข้อมูลให้ครบถ้วน
7. พิจารณาเขตข้อมูลหลักหรือฟิลด์หลัก (Primary Key) ของแต่ละตาราง
8. วิเคราะห์โครงสร้างข้อมูลที่ได้ตามหลักการ Normalization เพื่อให้ได้ตารางข้อมูลที่ มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนและถูกต้อง
9. กำหนดชนิดข้อมูล (Data Type) ที่ต้องการจัดเก็บว่าอยู่ในรูปแบบใด
10. กำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลในฐานข้อมูล (Relationship)
11. ออกแบบหน้าจอการใช้งาน
กฎการ Normalization
เป็น กฎที่ใช้ในการออกแบบตาราง เพื่อลดความซ้ำซ้อน แก้ไขตารางได้ง่าย และถ้าเปลี่ยนแปลงข้อมูล จะมีผลกระทบต่อข้อมูลอื่นน้อยที่สุด โดยทั่วไปแล้ว เราใช้กฎ

Normalization เพียง 3 ข้อก็เพียงพอในการออกแบบตารางโดยทั่วไปแล้วจากรายละเอียดทั้งหมด 4 ข้อดังนี้
1. กฎข้อที่ 1 (First Normal Form) กล่าวว่า จะต้องไม่มีเซลล์ใดในตารางที่มีค่าเกิน 1 ค่า ดังนั้นเราสามารถทำให้ตารางผ่านกฎข้อที่ 1 ได้โดยการแยกเซลล์ที่มีค่าเกินหนึ่งออกเป็นเรคอร์ดใหม่
2. กฎข้อที่ 2 (Second Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อที่ 2 จะต้องไม่มี แอตตริบิวต์ (Attribute) หรือ ฟิลด์ที่ไม่ใชคีย์หลักไปผสมหรือปนอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งของคีย์หลัก จะต้องมีเฉพาะคีย์หลักเต็ม ๆ เท่านั้น ซึ่งจะผ่านกฎข้อนี้ จะต้องแยกฟิลด์เฉพาะออกมาสร้างตารางใหม่ แล้วใช้ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many)
3. กฎข้อที่ 3 ( Third Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อที่ 3 จะต้องไม่มี แอตตริบิวต์ใดที่ขึ้นกับแอตตริบิวต์อื่นที่ไม่ใช่คีย์หลัก การแก้ไขให้ผ่านกฎข้อนี้ ทำได้โดยแยกตารางออกมาสร้างตารางใหม่
4. กฎข้อที่ 4 ( Fourth Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อที่ 4 จะต้องไม่มี การขึ้นต่อกันแบบเชิงกลุ่ม (Multivalued Dependency) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบ Many-to-Many ภายในตารางเดียวกัน
ความสามารถของ Microsoft Access 2007
1. สร้างแอปพลิเคชั่นฐานข้อมูลต่าง ๆ
2. สามารถสร้างตาราง (Table) เก็บข้อมูล และออกแบบโครงสร้างของข้อมูลได้
3. มีเครื่องมือที่ช่วยในการสอบถามข้อมูล (Query) จากฐานข้อมูล และสามารถคำนวณหา ผลลัพธ์ได้อีกด้วย
4. มีเครื่องมือฟอร์ม (From) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการข้อมูลได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น
5. สามารถสรุปรายงาน (Report) ออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ
6. มีแม่แบบ (Template) และเครื่องช่วย (Wizard) ที่ช่วยในการสร้างฐานข้อมูลให้ สะดวกยิ่งขึ้น
7. สามารถนำข้อมูลเข้า (Import) จากฐานข้อมูลอื่น หรือส่งข้อมูลออก (Export) ไปยัง ฐานข้อมูลอื่นได้
8. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย Windows SharePoint Services เพื่อแบ่งปัน ข้อมูล Access 2007 กับทุกคนในทีมโดยใช้ Windows SharePoint Services และ Access 2007 ทำให้เพื่อนร่วมทีมสามารถเข้าถึงข้อมูล แก้ไขข้อมูล และดูรายงานแบบเรียลไทม์ ซึ่งก็คือสามารถดูข้อมูลได้โดยตรงจากหน้าจอบนเว็บไซต์
คุณสมบัติใหม่ของ Access 2007
มีการปรับปรุงด้านหลัก ๆ 4 ด้านคือ
1. ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น โดยมีส่วนติดต่อผู้ใช้ใหม่ที่เรียกว่า “ริบบอน” หรือ “ริบบิ้น” (Ribbon)
2. การจัดการรูปแบบของไฟล์โดยสนับสนุนไฟล์ฟอร์แมตใหม่ 3 ชนิดคือ Microsoft Office Open XML, PDF และ XPS
3. ปรับปรุงการทำงานร่วมกันของโปรแกรมในชุด Microsoft Office
4. ปรับปรุงด้านความปลอดภัย
ความต้องการของระบบในการใช้งาน Access 2007
ความต้องการของระบบขั้นต่ำที่ไมโครซอฟต์ได้ระบุไว้ดังนี้
1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) อย่างต่ำ 500 MHz
2. หน่วยความจำ (RAM) อย่างต่ำ 256 MB แนะนำ 512 MB
3. พื้นที่เก็บข้อมูล (Harddisk) 1.5 GB
4. ไดรฟ์ต่าง ๆ เช่น CD-ROM,DVD เป็นต้น
5. ความละเอียดในการแสดงผลของจอภาพ 1024 x 768 พิกเซล หรือสูงกว่า
6. ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP Service Pack2 หรือ Windows Server 2003 หรือระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่กว่า
การวัดและประเมินผลการผ่านจุดประสงค์
ตอนที่1
1. ข. 6. ค.
2. ก. 7. ง.
3. ก. 8. ก.
4. ค. 9. ง.
5. ก. 10. ค.
ตอนที่2 แบบจับคู่
1. ช DBMS
2. จ Normalization
3. ซ Office Button
4. ญ Quick Access Toolbar
5. ฌ Ribbon
6. ก Navigation Pane
7. ค Document Window
8. ข Query
9. ง Macro
10. ฉ Module

ตอนที่ 3 แบบอัตนัย
1. การสร้างรายงานมีกี่แบบ อะไรบ้าง และแต่ละแบบมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ มี 3 แบบ คือ
1. รายงานแบบคอลัมน์ (Columnar Report) เรียงฟิลด์แต่ละเรคคอร์ดจากบนลงล่างทีละ 1 เรคคอร์ด
2. รายงานแบบตาราง (Tabular Report) แสดงแบบแถวและคอลัมน์ แสดงข้อมูลทุกเรคคอร์ดใน 1 หน้ารายงาน
โดยเรียงจากซ้ายไปทางขวาของรายงาน
3. รายงานแบบป้ายชื่อ (Label Report) สำหรับพิมพ์ป้ายฉลากต่าง ๆ เช่น ฉลากติดซองจดหมาย เป็นต้น
2. จงบอกถึงส่วนประกอบของรายงาน และแต่ละส่วนมีหน้าที่อะไร
ตอบ 1. Report Header คือ พื้นที่ในส่วนหัวของรายงาน เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในหน้าแรกของรายงานเท่านั้น เช่น โลโก้ของรายงาน แสดงชื่อรายงาน เป็นต้น
2.Page Header คือ พื้นที่ในส่วนหัวของหน้ากระดาษ เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในทุกๆหน้าของรายงาน เช่น แสดงชื่อกำกับฟิลด์(รายงานแบบตาราง) แสดงเลขหน้าเป็นต้น
3. Detail คือ พื้นที่ในการแสดงข้อมูลที่ดึงมาจากฐานข้อมูล ทั้งในตารางและในแบบสอบถามข้อมูล
4. Page Footer คือ พื้นที่ในส่วนท้ายของกระดาษ เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความ
หรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในทุกๆหน้าของรายงาน เช่น แสดงเลขหน้า เป็นต้น
5. Report Footer คือ พื้นที่ในส่วนท้ายของรายงาน เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในหน้าสุดท้ายของรายงานเท่านั้น เช่น แสดงผลการคำนวณ แสดงวันที่จัดพิมพ์ เป็นต้น
3. จงอธิบายขั้นตอนการสร้างรายงานแบบ Report Wizard
ตอบ 1. คลิกที่แท็บ Create
2.คลิกเลือก Report Wizard ในกลุ่มของ Reports
3.เลือกตารางหรือแบบสอบถามข้อมูลที่ต้องการนำมาสร้างรายงาน
4.คลิกเลือกฟิลด์ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม > เพื่อเลือกทีละฟิลด์ หรือคลิกปุ่ม >> เพื่อนเลือกฟิลด์ทั้งหมด
5.แล้วคลิกปุ่ม Next>
6.เลือกข้อมูลที่ต้องการแสดงรายละเอียด
7.แล้วคลิกปุ่ม Next>
8.เลือกฟิลด์ที่ต้องการ แบ่งกลุ่มข้อมูล แล้วคลิกที่ปุ่ม >เพื่อเลือกฟิลด์
9.แล้วคลิกปุ่ม Next>
10.เลือกฟิลด์ที่ต้องการเรียงลำดับ ถ้าต้องการเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามากให้คลิกที่ปุ่ม Ascendingและคลิกที่ปุ่มDescending ถ้าต้องการเรียนจากมากไปหาน้อย
11.แล้วคลิกปุ่ม Next>
12. เลือกรูปแบบตำแหน่งการจัดวางรายงานที่ Layoutและที่Orientationเลือกแนวกระดาษเลือก Portraitสำหรับแนวตั้งและ Landscape สำหรับแนวนอน
13.แล้วคลิกปุ่ม Next>
14.เลือกสไตล์หรือรูปแบบรายงานที่ต้องการ
15.แล้วคลิกปุ่ม Next>
16.ตั้งชื่อรายงานที่ต้องการ และเลือกการแสดงผลรายงานในมุมมองตัวอย่างก่อนพิมพ์หรือมุมมองในการแก้ไขรายงาน
17.แล้วคลิกปุ่ม Finish
4.อธิบายขั้นตอนการสร้างรายงานแบบ Label Wizard
ตอบ 1. คลิกที่แท็บ Create
2.เลือกตารางหรือแบบสอบถามข้อมูลที่ต้องการนำมาสร้างเลเบล
3.คลิกที่ปุ่ม Labelsในกลุ่มของ Reports จากนั้นจะแสดงหน้าจอให้เลือกขนาดของเลเบล
4.เลือกขนาดของแถบที่ต้องการ ซึ่งถ้าหารต้องการกำหนดขนาดของเลเบลใหม่ให้คลิกที่ปุ่ม Customize แล้วกำหนดขนาดใหม่
5.แล้วคลิกปุ่ม Next>
6.กำหนดรูปแบบที่ต้องการแสดง
7.แล้วคลิกปุ่ม Next>
8.คลิกเลือกฟิลด์ที่ต้องการแสดงในเลเบล โดยคลิกปุ่ม > เพื่อเลือกข้อมูล ซึ่งถ้าหากต้องการเว้นวรรคในแต่ละฟิลด์ ให้กดปุ่ม Spacebar ที่แป้นพิมพ์ และถ้าต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ก็สามารถกดปุ่ม Enterได้
9.แล้วคลิกปุ่ม Next>
10.เลือกฟิลด์ที่ต้องการเรียงลำดับข้อมูลใน เลเบล โดยคลิกปุ่ม > เพื่อเลือกฟิลด์ข้อมูล
11.แล้วคลิกปุ่ม Next>
12.ตั้งชื่อรายงานและเลือกการแสดงผล เลเบล ในมุมมองตัวอย่างก่อนพิมพ์หรือมุมมองในการแก้ไขเลเบล
13.แล้วคลิกปุ่ม Finish
5.จงบอกถึงข้อดีและข้อเสียของรายงานแบบอัตโนมัติ
ตอบ ข้อดี ข้อเสีย
-สะดวกรวดเร็ว - ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลในตารางได้ในขณะที่พิมพ์ออกมาได้แบบฟอร์ม
-สามารถคำนวณข้อมูลได้
-สามารถพิมพ์ออกมาได้

วิชาโปรแกรมเว็บ 1

แบบฝึกหัดที่ 1
1. อินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่าอย่างไร คืออะไร

- เรียกสั้น ๆ ว่า "เน็ต" คือ ระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด ที่เชื่อต่อคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องเข้าด้วยกัน จนเรียกกันได้ว่าเป็น "เครือข่ายที่ไร้พรมแดน"โดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่สะดวกและรวดเร็ว

2. ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตมีลักษณะอย่างไร

- อยู่ในลักษณะ "ไคลเอนท์-เซิร์เวอร์"(Client-Server)

3. "ไคลเอนท์-เซิร์ฟเวอร์"(Client-Server)คืออะไร

- คือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์คือ "เครื่องแม่ข่าย" หรือ ผู้ให้บริการกับเครื่องที่เป็นไคลแอนท์คือ "เครื่องลูกข่าย" หรือ ผู้ขอใช้บริการมีการติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลาในการติดต่อสื่อสารจะมีชื่อที่อยู่เพื่อจะได้ทราบว่าข้อมูลถูกส่งมาจากไหนและมีปลายทางอยู่ที่ใด ซึ่งชื่อที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตจะเรียกกันว่า "ไอพีแอดเดรส"(IP Address)เป็นตัวเลขล้วน ๆ 4ชุด แต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0-255 คัน่ด้วยจุด เช่น 202.146.15.9


4. ชื่อที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอินเทอเน็ต เรียกกันว่าอย่างไร พร้อมยกตัวอย่าง

- "ไอพีแอดเดรส"(IP Address)เช่น 231.123.07.0

5. บอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมาอย่างน้อย 5 อย่าง

- (1)ติดตามข่าวสารได้ทั่วโลก (2)ฟังเพลง ดูหนัง (3)ค้นหาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
(4)โหลดโปรแกรมที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ (5)สั่งซื้อสินค้า ดูราคาทางอินเทอร์เน็ต

6. ยกตัวอย่างภัยจากอินเทอร์เน็ตที่มีต่อเยาวชนไทยในปัจจุบันมา 3 ข้อ

- (1)เยาวชนติดเกม (2)สนทนาแชทผ่านทางอินเทอร์เน็ต นัดเจอ ลวงไปข่มขืน
(3)แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมผ่านทาง เว็บแคม เช่น โชว์สัดส่วน

7. เวิลด์ไวด์เว็บ (World wide web หรือ WWW หรือ w3)คืออะไร

- แหล่งให้บริการข้อมูลได้ทั้งในรูปแบบข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง รวมทั้งVDO เวิลด์ไวด์เว็บเป็นแหล่งข้อมูลขนาดยักษ์ที่จะพบข้อมูลได้ทุกประเภท

8. รูปแบบของ FTP แบ่งได้เป็นกี่แบบ อะไรบ้าง

- แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ (1)Download (2)Upload

9. เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) หมายถึงอะไร
- คือ โปรแกรมที่ใช้เปิดเว็บเพจ เรียกสั้นๆว่า Browser มีหน้าที่ติดต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อขอข้อมูลที่ต้องการมาแสดงที่หน้าจอ ของโปรแกรม เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE)

10. URL (Uniform Resouree Locator) คืออะไร ยกตัวอย่างรูปแบบ URL
- การเข้าถึงข้อมูลใด ๆ ในอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะเป้นเว้บเพจ ไฟล์ประเภทอื่น ต้องรู้ Address ของข้อมุลนั้น รูปแบบถูกกำหนดไว้เป้นมาตรฐาน ประกอบด้วย 3 ส่วน 1. โปนโตคอล คือภาษกลางบนอินเตอร์เน็ต 2. ชื่อโดเมนของเครื่อง 3. ชื่อไฟล์เว็บเพจ
ตัวอย่าง URL http://www.universe.com/ampacai/index.html

ตอนที่ 2
1. ค.
2. ข.
3. ข.
4. ค.
5. ค.
6. ง.
7. ค.
8. ข.
9. ก.
10. ค.
11. ข.
12. ก
13. ค.
14. ง.
15 .ง.

วิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บเพจ

แบบฝึกหัดที่ 1

ระบบคอมพิวเตอร์(computer system)แบ่งออกเป็น 3 สวนหลักๆที่สำคัญ คือ
1. Hardware (ตัวเครื่อง) ได้แก่
- จอภาพ
- คีย์บอร์ด
- CPU
- เมาส์
- สแกนเนอร์
- แทรกบอลล์
- จอยสติ๊ก
- ตัวขับจานแม่เหล็ก
- ตัวขับ ซีดี-รอม
- ไมโครโฟน
- กล้องวิดีโอ
- เครื่องอ่านรหัสแท่งหรือบาร์โค้ด
2. Software (โปรแกรม) แบ่งเป็น 2 อย่างได้แก่
2.1 System Software ได้แก่
- OS
- Utility
- Translation
- Diganostic
2.2 Application Software ประกอบด้วย 2 อย่าง ได้แก่
2.2.1 User Programs (ผู้ใช้เขียนเอง) เช่น
- ภาษา C
- Visual Basic
- Pascal
- C++
- html
- Flash
2.2.2 Package Programs
- เกมส์
- Windows
- MS-office
- PhotoShop
- PhotoScape
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
3. People ware (บุคลากร) ได้แก่
- Programmer
- System Analysis
-เจ้าหน้าที่กราฟิกดีไซน์
- เจ้าหน้าที่สารสนเทส (IT support)
- Application Support
- เจ้าหน้าที่ Admin และ Project co.

แบบฝึกหัดที่ 2

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดวิชาที่ 1

ให้นักศึกษาหาข้อมูลใน Internet เพื่อตอบคำถามต่อไปนี้

1 จงอธิบายวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างละเอียด
ตอบ มี 4 ยุค
1 การประมวลผลข้อมูล มีจุดประสงค์เพื่อการคำนวณและประมวลผลของรายการประจำ
2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหาร
3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำ ระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

2 จงระบุองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ 1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 เทคโนโลยีโทรคมนาคม

3 คุณลักษณะของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี มีอะไรบ้าง
ตอบ 1 ความเที่ยงตรง 2 ทันต่อความต้องการใช้ 3 ความสมบูรณ์ 4 การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
5 ตรวจสอบได้

4 จงบอกประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ มาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1 เป็นแหล่งบันเทิง 2 เพิ่มความสะดวกสบาย 3 ทำสื่อการสอน 4 ประหยัดเวลา 5 ใช้รวบรวมข้อมูล

5 จงบอกภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศตามความเข้าใจ
ตอบ 1 สื่อลามก 2 การสร้าง/ส่งข้อมูลลวง 3 การล้วงข้อมูลมาใช้งาน

6. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
ตอบ จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23) พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ
สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns), นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology), ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง, ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี


นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่มั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นาย อภิศักดิ์
นามสกุล กองศรี
เกิดวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2534
ที่อยู่ปัจจุบัน 1 แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กทม.
เบอโทรศัพท์ 083-600-8422
สุขภาพ แข็งแรง
โรคประจำตัว -
แพ้ยา -
บิดา นายปราณี เบอโทรศัพท์ติดต่อ 081-363-8930
มารดา นางณัฐหทัย เบอโทรศัพท์ติดต่อ 086-019-1951
อาจารย์ที่ปรึกษา  อ.อำภา กุลธรรมโยธิน
มือถืออาจารย์ที่ปรึกษา 081-413-4242